Office Syndrome
โรคออฟฟิศซินโดรม

กลุ่มอาการ “ออฟฟิศซินโดรม” เป็นคำที่คุ้นหูมากขึ้นกว่าในอดีต หากเรามองย้อนกลับไป ไม่กี่ปีที่แล้ว เรื่องนี้อาจจะถูกมองว่าเป็นเรื่องใหม่ และไม่ค่อยมีคนกล่าวถึง แต่ในปัจจุบัน อาการออฟฟิศซินโดรมได้กลายเป็นโรคที่พบได้บ่อยในกลุ่มคนทำงานออฟฟิศที่ถึงขั้นพบคนทำงานออฟฟิศเป็นโรคเกี่ยวกับออฟฟิศซินโดรมอย่างน้อย 1 ใน 10 เลยทีเดียว
ออฟฟิศซินโดรมพบได้บ่อยในคนวัยทำงาน โดยเฉพาะกลุ่มคนที่ทำงานในสำนักงาน และด้วยการทำงานที่เร่งรีบ ร่วมกับสภาพแวดล้อมของที่ทำงาน ไม่ว่าจะเป็นการนั่งทำงานเป็นเวลานานเกินไป มีการเคลื่อนไหวร่างกายน้อย หรืออยู่ท่าเดิมนาน ๆ ส่งผลให้มีการเร็งตัวขอกล้มเนื้อ มีอาการปวดเมื่อยตามอวัยวะต่าง ๆ เช่นหลัง ไหล่ บ่า แขน หรือข้อมือ จนปล่อยให้มีอาการลุกลามมากขึ้น
ออฟฟิศซินโดรมคือกลุ่มอาการปวด ตามกระดูก ข้อต่อ เส้นประสาท และกล้ามเนื้อ เมื่อมีการขยับเขยื้อนแล้วมีเสียงกรอบแกรบ ขยับแล้วเจ็บแปลบๆ คอยื่นไปข้างหน้า หลังค่อม กระดูกสันหลังคด กระดูกสันหลังแอ่นงอ กล้ามเนื้อไม่ค่อยมีแรง ชาหรือกล้ามเนื้อกระตุก


สาเหตุหลัก
คือการใช้งานกล้ามเนื้อ และข้อต่อที่ผิดไปจากภาวะปกติ เกิดจากการทำงานในพื้นที่จำกัด และขาดการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อ และข้อทำให้เกิดอาการ Office Syndrome โดยมีสาเหตุมาจากพฤติกรรม ดังต่อไปนี้
การนั่งทำงานติดต่อกันนาน ๆ ในท่าเดิม
การเพ่งจอคอมพิวเตอร์ติดต่อกันนานเกิน 1 ชั่วโมง
การพิมพ์แป้นคีย์บอร์ดที่ไม่มีตัวรองรับข้อมือ ส่งผลให้เกิดกรอักเสบบริเวณเส้นเอ็น รวมทั้งเกิดภาวะพังผืดหนา ทำให้เกิดอาการชาบริเวณนิ้ว และข้อมือได้
โต๊ะ เก้าอี้ที่ใช้นั่งทำงานไม่เหมาะกับสรีระร่างกาย ไม่มีพนักพิง และที่ท้าวแขนที่รองรับหลังและช่วงแขนอย่างมีประสิทธิภาพ
อยู่ใกล้กับเครื่องถ่ายเอกสาร เครื่องแฟกซ์ หรือเครื่องพิมพ์เอกสาร (หรืออุปกรณ์ใด ๆ ที่แผ่ทั้งรังสี ความร้อน หรือเสียงที่ดังเกินไป)



การรักษาอาการออฟฟิศซินโดรม
- เมื่อรู้สึกเมื่อยล้า ควรหยุดพักการทำงานชั่วคราวเพื่อผ่อนคลายร่างกายและสมอง เช่น ลุกขึ้นยืดเส้นยืดสาย เดินไปสูดอากาศบริสุทธิ์ ไม่นั่งทำงานติดต่อกันเป็นเวลานานเกินไป
- ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพื่อยืดและคลายกล้ามเนื้อ นอกจากจะช่วยลดอาการเกร็งของกล้ามเนื้อ ป้องกันเอ็นและข้อยึดแล้ว ยังช่วยผ่อนคลายความเครียด และเสริมสร้างภูมิต้านทานให้ร่างกายแข็งแรงได้อีกด้วย
- ปรับสภาพแวดล้อมในการทำงาน เลือกใช้โต๊ะและเก้าอี้ให้เหมาะกับรูปร่าง ปรับพื้นที่ให้โปรงโล่ง อากาศถ่ายเทสะดวก
- หากมีอาการรุนแรง ไม่สามารถรักษาให้หายได้ในเวลาอันสั้น อาจตัดสินใจพักงานชั่วคราว เพื่อไม่ให้อาการแย่ลงกว่าเดิม
- รับประทานยา เช่น ยาบรรเทาอาการกล้ามเนื้อและเอ็นอักเสบ ยาคลายกล้ามเนื้อ ยาแก้ปวด ฯลฯ
- เข้ารับการผ่าตัด เพื่อรักษากล้ามเนื้อ ข้อต่อ หรือเส้นประสาท ในกรณีที่มีอาการหนัก ไม่สามารถรักษาด้วยวิธีอื่น ๆ ได้
การรักษาในแบบฉบับ S Fit Rehab
เป็นการรักษาออฟฟิศซินโดรมที่เกี่ยวข้องกับระบบกล้ามเนื้อและกระดูก นอกจากการทำกายภาพบำบัดแล้ว ที่ S Fit Rehab ทีมงานของเรามีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ที่จะช่วยประเมินโครงสร้างร่างกายและปรับให้เกิดความสมดุล ปรับเปลี่ยนท่าทางในการทำงาน และการใช้ชีวิตประจำวันให้เหมาะสมกับแต่ละบุคคล ให้ความรู้ในการออกกำลังกายอย่างถูกวิธีเพื่อให้ข้อต่อ และกล้ามเนื้อมีความแข็งแรง ยืดหยุ่น ป้องกันภาวะบาดเจ็บของกล้ามเนื้อ ข้อต่อ และเนื้อเยื่อที่อาจเกิดตามมาจากการออกกำลังกายที่ผิดวิธี
รวมถึงช่วยลดความเสี่ยงของอาการที่ไม่พึงประสงค์อื่นๆที่อาจเกิดตามมาได้ หากใครคาดว่าจะเป็นหนึ่งในกลุ่มอาการของออฟฟิศซินโดรม ก็ควรมาพบผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางของ S Fit Rehab เพื่อรับคำปรึกษา และตรวจหาสาเหตุของอาการที่เกิดขึ้น เพื่อหาสาเหตุและ ทำการรักษาอย่างถูกวิธี และปลอดภัยต่อไป