บริการของเรา


รักษาความพิการ

รักษาความพิการ

นาทีเปลี่ยนชีวิต Golden Period

    80% ของผู้ป่วยที่มีความพิการ เกิดจากหลอดเลือดสมอง ตีบ แตก ตัน (Stroke) หรือ เกิดจากอุบัติเหตุที่ส่งผลต่อเส้นประสาท ทำให้มีอาการแขน ขาอ่อนแรง ปากเบี้ยว พูดไม่ชัด พูดหรือกลืนลำบาก เมื่อได้รับการรักษาจากแพทย์เบื้องต้นแล้ว สิ่งสำคัญคือการกระตุ้นและฟื้นฟูสมอง เพื่อให้อาการกลับมาปกติหรือใกล้เคียงปกติอีกครั้ง โดยมีระยะเวลาจำกัด ภายใน 6 เดือน หลังการรักษา stroke โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ผู้ป่วยจะสูญเสียความเป็นตัวเองไปหรือความบกพร่อง พิการและไม่สามารถกลับมาเหมือนเดิมได้ ถ้าไม่ได้รับการรักษาอาการต่างๆ ในระยะเวลาที่สมองต้องการการกระตุ้นและฟื้นฟูอาจทำให้เป็นอัมพฤกษ์ อัมพาตไปตลอดชีวิต ดังนั้นต้องรีบรักษาให้ทันทวงที ซึ่งการรักษาที่มีประสิทธิภาพและเห็นผลดีที่สุดอยู่ในช่วง 6 เดือนแรก หลังจากมีอาการป่วยเป็นโรคหลอดเลือดสมอง และพ้นจากช่วงอาการวิกฤตมาแล้ว จึงต้องเร่งให้การรักษาเพื่อกระตุ้นเซลล์สมองให้กลับมาทำงานและสามารถสั่งให้ร่างกายที่ผิดปกติกลับมาทำงานได้เหมือนเดิม ที่สำคัญยังลดการเกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ เช่น แผลกดทับ ข้อติด โรคปอดอักเสบ เป็นต้น ลดอัตราการเกิดความพิการให้กลับมาดีได้อีกครั้ง

    โดยโปรแกรมการรักษา ควรต้องรวมศาสตร์หลายแขนงเข้าด้วยกัน เพื่อแก้ปัญหาในส่วนที่ผู้ป่วยเป็น เช่น แพทย์ด้านสมองและระบบประสาท นักกายภาพบำบัด รีแฮปเทรนเนอร์ แพทย์ทางเลือก การผสมผสานในการรักษาเหล่านี้จะช่วยลดความเสี่ยงเป็นอัมพฤกษ์ อัมพาต ทำให้ผู้ป่วยกลับมาใช้ชีวิตปกติหรือใกล้เคียงปกติ (อ่านข้อมูล นาทีเปลี่ยนชีวิต Golden Period ที่นี่)


ทำไมต้อง Intensive Treatment

    อาการป่วยที่ตามมาด้วยระยะเวลาที่จำกัด เพียง 6 เดือนของการรักษามีความจำเป็นมาก โปรแกรมการรักษาจึงต้องเริ่มอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง เรียกว่า ทำมากได้มาก เพราะหลังจากนี้แล้ว ต่อให้มีกิจกรรมรักษาดีแค่ไหน ก็ไม่สามารถทำให้เซลล์สมองกลับมาทำงานได้และเป็นอัมพฤกษ์ อัมพาต ไปตลอดชีวิต 

    intensive treatment คือ เวชศาสตร์การรักษาแบบเข้มข้น เฉพาะบุคคล โดยสหสาขาวิชาชีพที่มีความเชี่ยวชาญ ร่วมวางแผนและออกแบบ การรักษา เพื่อให้เห็นผลลัพท์ที่ดีที่สุด หลักการก็คือ การรักษาผู้ป่วย 1 ราย ประกอบด้วยแพทย์เชี่ยวชาญเฉพาะด้านสมอง เพื่อประเมินแนะนำวิธีรักษาที่เหมาะสมและติดตามผลการรักษาอย่างเข้มงวด นักกายภาพบำบัด มีหน้าที่ประเมินร่างกายก่อนการรักษา และวางแผนร่วมกับ ทีมกิจกรรมบำบัด รีแฮปเทรนเนอร์ แพทย์ทางเลือก เพื่อออกแบบการรักษาให้ตรงจุดเฉพาะบุคคลครอบคลุมอาการที่ผู้ป่วยเป็นอยู่ โดยการรักษาใน 1 วัน จำเป็นต้องให้ผู้ป่วยเข้ารับรักษาอย่างต่อเนื่อง

    เพราะทุกนาทีมีค่ากับการฟื้นตัวของผู้ป่วย กิจกรรมต่างๆจึงต้องประชุมสหวิชาชีพ วางแผนกันวันต่อวัน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดโดยผู้ป่วยสามารถกลับไปใช้ชีวิตประจำวันได้ดังเดิม (อ่านข้อมูล ทำไมต้อง Intensive Treatment ที่นี่)

    เป้าหมายการรักษาแบบ Intensive Treatment

1. Activity of daily living (ADL) รักษาและฟื้นฟูเพื่อให้ผู้ป่วยสามารถกลับมาทำกิจวัตรจำเป็นประจำวัน ได้ คือ

  • สุขศาสตร์ส่วนบุคคล (personal hygiene) เช่น อาบน้ำ ล้างหน้า แปรงฟัน ตัดเล็บ หวีผม
  • การแต่งตัว (dressing) เป็นการเลือกเสื้อผ้าที่เหมาะสมและนำมาสวมใส่ได้
  • การป้อนอาหารตนเอง (feeding) คือ การตักและเลือกอาหารทานเองได้ ฝึกกลืนอาหาร
  • การจัดการธุระส่วนตัว (continence management) คือ เมื่อไรควรไปห้องน้ำ สามารถอั้นหรือปล่อย   ปัสสวะ อุจาระ เองได้
  • การเคลื่อนไหว (ambulating) เช่น การลุกขึ้นนั่ง การลงจากเตียงเอง การเดินไปเดินมา การขึ้นลงบันได

2. Rehabilitation & Multi-Skills รักษาด้วยการเพิ่มความแข็งแรงให้กับผู้ป่วยจากรอยโรคที่ทำให้อ่อนแรงและเพิ่มทักษะการสั่งการของสมองให้ทำงานพร้อมกัน เช่น ฝึกเดินพร้อมพูด ฝึกจับวัตถุพร้อมแยก

3. Job Skills เพิ่มทักษะเกี่ยวกับงาน โดยผู้ป่วยส่วนใหญ่จะสูญเสียความสามารถด้านอาชีพที่เคยทำได้ เช่น ขับรถ ใช้คอมพิวเตอร์ งานช่างต่างๆ การรักษาจึงต้องเพิ่มการพัฒนาทักษะผู้ป่วยให้สามารถกลับมาประกอบอาชีพได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับอาการของรอยโรคที่เกิดขึ้น

โดยเป้าหมายการรักษา จะได้ผลลัพท์ที่ดีนั้น จะเกิดขึ้นเพียง 6 เดือนหลังจากเกิดโรค หลังจากนั้นอาการบกพร่องจะเหลือติดตัวผู้ป่วยไปตลอดชีวิต


    การรวมทุกศาสตร์เข้าด้วยกัน Multidisciplinary

    อีกหนึ่งปัจจัยที่ทำให้การรักษาความพิการได้ผลที่ลัพธ์ที่ดีและตรงจุดนั้น คือ การมีสหวิชาชีพร่วมออกแบบวางแผนการรักษา โดยมีผู้ป่วยเป็นเป้าหมายสูงสุดเพื่อการหายที่ยั่งยืน การผสมผสานศาสตร์แต่ละแขนงเป็นเรื่องไม่ง่ายที่จะเกิดขึ้น เพราะส่วนใหญ่การทำงานจะแยกกันเป็นส่วนๆ เรียกได้ว่า ผู้ป่วยมีอาการด้านไหน ก็ไปรักษาในเรื่องนั้นๆ ซึ่งส่งผลให้การรักษาไม่เต็มประสิทธิภาพ

    ประโยชน์การรวมศาสตร์รักษาความพิการ

  • ผู้ป่วยได้รับการรักษาอย่างสม่ำเสมอเพียงพอต่อการพัฒนาร่างกาย และรักษาความพิการที่มีเวลาจำกัดภายใน 6 เดือน
  • เกิดกิจกรรมที่หลากหลาย ผู้ป่วยไม่เกิดความเบื่อหน่ายและหมดกำลังใจต่อการบำบัดรักษา
  • การพัฒนาทางด้านร่างกายเร็วมากขึ้น
  • ลดการพึ่งพิงจากผู้อื่นได้เร็วขึ้น
  • ลดภาวะความเครียดของญาติผู้ดูแล

สนใจติดต่อสอบถาม
PHONE: +6691 696 6969

การรักษา


Share
เครื่องมือการรักษา
treatment
Robotic Gait training
treatment
กระตุ้นไฟฟ้าTENs
treatment
Ultrasound
treatment
Electrical stimulation( ES)