ออฟฟิศซินโดรม (Office
Syndrome) โรคยอดฮิตของคนทำงาน
โรคออฟฟิศซินโดรม (office syndrome) ดูจะเป็นโรคที่คนยุคใหม่เป็นกันมากพอสมควร ด้วยพฤติกรรมการทำงานและการใช้ชีวิตที่เปลี่ยนไป เราไม่ค่อยเน้นการยืน เดิน เคลื่อนไหว หรือออกแรงเหมือนแต่ก่อน กลายเป็นการนั่งหน้าคอมพิวเตอร์ หรือก้มดูมือถือนาน ๆ แทน
มาทำความรู้จักภัยใกล้ตัวของคนทำงานอย่าง “ออฟฟิศซินโดรม” อาการของโรคที่แสนจะทรมานนี้คืออะไร
ทำไมต้องเป็นกับคนทำงาน พฤติกรรมไหนที่ทำให้โรคนี้เข้ามาย่างกราย
การรักษาให้อาการดีขึ้นต้องทำอย่างไรบ้าง ป้องกันด้วยวิธีไหนจะดีที่สุด
มาหาคำตอบพร้อมกันได้ในบทความนี้
โรคออฟฟิศซินโดรม คืออะไร?
คือ
กลุ่มอาการปวดกล้ามเนื้อและเยื่อพังผืด (Myofascial Pain
Syndrome) เนื่องมาจากรูปแบบการทำงานที่ใช้กล้ามเนื้อมัดเดิมซ้ำๆ
เป็นระยะเวลานานต่อเนื่อง
ซึ่งส่งผลให้เกิดอาการกล้ามเนื้ออักเสบและปวดเมื่อยตามอวัยวะต่างๆ โดยเฉพาะบริเวณ
คอ หลัง ไหล่ บ่า แขน หรือข้อมือ
ซึ่งอาการปวดดังกล่าวอาจลุกลามจนกลายเป็นอาการปวดเรื้อรัง
ออฟฟิศซินโดรม มักพบได้บ่อยในคนทำงานออฟฟิศ เนื่องจากพฤติกรรมของคนทำงานส่วนใหญ่ ที่ต้องนั่งทำงานอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์อยู่เป็นเวลานาน โดยไม่ได้ขยับตัวเปลี่ยนอิริยาบถ ทำให้กล้ามเนื้อเกิดอาการตึง และกล้ามเนื้ออักเสบได้ จึงเป็นสาเหตุหลักและปัจจัยสำคัญให้เกิดอาการออฟฟิศซินโดรม ไม่ควรปล่อยให้เรื้อรังจนทำอันตรายต่อร่างกายมากขึ้นกว่าเดิม
อาการแบบไหนที่เข้าข่ายผู้ป่วยเป็นโรคออฟฟิศซินโดรม
การรักษาในแบบฉบับ S
Fit Rehab
เป็นการรักษาออฟฟิศซินโดรมที่เกี่ยวข้องกับระบบกล้ามเนื้อและกระดูก นอกจากการทำกายภาพบำบัดแล้ว ที่ S Fit Rehab ทีมงานของเรามีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ที่จะช่วยประเมินโครงสร้างร่างกายและปรับให้เกิดความสมดุล ปรับเปลี่ยนท่าทางในการทำงาน และการใช้ชีวิตประจำวันให้เหมาะสมกับแต่ละบุคคล ให้ความรู้ในการออกกำลังกายอย่างถูกวิธีเพื่อให้ข้อต่อ และกล้ามเนื้อมีความแข็งแรง ยืดหยุ่น ป้องกันภาวะบาดเจ็บของกล้ามเนื้อ ข้อต่อ และเนื้อเยื่อที่อาจเกิดตามมาจากการออกกำลังกายที่ผิดวิธี
รวมถึงช่วยลดความเสี่ยงของอาการที่ไม่พึงประสงค์อื่นๆที่อาจเกิดตามมาได้ หากมีอาการหรือคาดว่าจะเป็นหนึ่งในกลุ่มอาการของออฟฟิศซินโดรม ควรมาพบผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางของ S Fit Rehab เพื่อรับคำปรึกษา และตรวจหาสาเหตุของอาการที่เกิดขึ้น เพื่อหาสาเหตุและ ทำการรักษาอย่างถูกวิธี และปลอดภัย
สนใจติดต่อสอบถาม
PHONE: +6691 696 6969